ทำนายประเภทของหนังสือจากหน้าปกด้วย Deep learning



Original Source Here

ทำนายประเภทของหนังสือจากหน้าปกด้วย Deep Learning

Photo by Brett Jordan on Unsplash

เคยสังเกตกันไหมว่าหน้าปกของหนังสือแต่ละประเภทจะมีลักษณะบางอย่างที่คล้าย ๆ กันอยู่ ยกตัวอย่างเช่น การจัดวางหน้า องค์ประกอบหรือการเลือกใช้โทนสี โดยบางครั้งเราก็สามารถรู้ได้ในทันทีที่เห็นหน้าปกของหนังสือว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือประเภทไหน เป็นเพราะว่าเราเคยเห็นหนังสือที่มีลักษณะแบบนี้มาก่อน
ซึ่งโปรเจคนี้จะนำเอา Deep learning มาใช้ในการทำนายประเภทของหนังสือ โดยการทดลองให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้แพทเทิร์นที่ซ่อนอยู่ในปกหนังสือแต่ละประเภท

Dataset

ชุดของข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการ train model มาจากการทำ Web scraping รูปหน้าปกหนังสือจากเว็บไซต์ naiin.com ซึ่งเหตุผลในการเลือกใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์นี้เนื่องจากเป็นร้านหนังสือที่มีข้อมูลของหนังสืออยู่เป็นจำนวนมากและการจัดหมวดหมู่ที่ไม่ซับซ้อน

ภาพเว็บไซต์ naiin.com

เว็บไซต์ naiin.com ได้ทำการจัดหมวดของหนังสือเป็น 21 หมวด

หมวดของหนังสือในเว็บไซต์ naiin.com

Web scraping

ในการทำ Web scraping เราได้ใช้ library ชื่อ Requests ในการ download content ของเว็บไซต์มาในรูปแบบของภาษา HTML และใช้ library ชื่อ BeautifulSoup ในการค้นหา Tag ที่สนใจในหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ เพื่อนำมาใช้ในการดาวโหลดน์ต่อไป

Problem

1.เมื่อพิจารณาข้อมูลปกหนังสือที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์พบว่าหนังสือที่อยู่ในหน้าท้าย ๆ ไม่มีข้อมูลปกหนังสือ

ตัวอย่างของหนังสือที่ไม่มีข้อมูลหน้าปก

2.ข้อมูลของหนังสือแต่ละหมวดมีจำนวนที่ไม่เท่ากัน บางหมวดมีจำนวนหนังสือไม่ถึง 1000 เล่ม

Solution

ในการเตรียมข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการ train ควรทำให้ข้อมูลในทุก ๆ class มีความสมดุลกันดังนั้นเราจึงทำการพิจารณาจำนวนข้อมูลของแต่ละหมวดเพื่อหาจำนวนที่เหมาะสม

หลังจากการ Clean ข้อมูลของหนังสือที่ไม่มีหน้าปกและพิจารณาจำนวนของข้อมูลที่เหลือแล้ว เราได้กำหนดให้จำนวนของข้อมูลที่ใช้ในการ train model ในแต่ละหมวดมีจำนวน 1900 รูป โดยจะทำการตัดหมวดที่มีจำนวนข้อมูลไม่ถึงจำนวนที่กำหนดออกและนำข้อมูลของหมวดที่มีจำนวนของข้อมูลเกินกว่าที่กำหนดเก็บไว้ใช้ในการทดสอบโมเดลต่อไป

จำนวนที่กำหนดนี้อิงจากจำนวนข้อมูลของหนังสือหมวดคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเมื่อพิจารณาหนังสือหมวดอื่น ๆ ที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าหนังสือหมวดคอมพิวเตอร์พบว่ามีผลต่างของจำนวนที่มากเกินไป ซึ่งหากต้องการเก็บข้อมูลหมวดนั้น ๆ ไว้จำเป็นต้องทิ้งข้อมูลเป็นจำนวนมาก

โดยหลังจากทำการตัดข้อมูลบางหมวดออกจะทำให้เหลือข้อมูลทั้งหมด 14 หมวดดังต่อไปนี้

Model

การทำงานในส่วนนี้จะใช้ Keras ซึ่งเป็น API บน Tensorflow ในการ train model

Import data to dataset

ในส่วนองการ import รูปเพื่อมาใช้ในการ train model นั้น เราใช้ function ของ Keras ชื่อ image_dataset_from_directory ซึ่งจะช่วยนำรูปที่อยู่ใน subfolder ของ path ที่กำหนดมาจัดเก็บเป็น class ซึ่งในโปรเจคนี้ class คือหมวดหมู่ของหนังสือ

path = '/Users/tt1/Desktop/Balancedtest/'
img_height = 128
img_width = 128
batch_size = 32
train_ds = tf.keras.preprocessing.image_dataset_from_directory(
path,
validation_split=0.2,
subset="training",
seed=123,
image_size=(img_height, img_width),
batch_size=batch_size)
val_ds = tf.keras.preprocessing.image_dataset_from_directory(
path,
validation_split=0.2,
subset="validation",
seed=123,
image_size=(img_height, img_width),
batch_size=batch_size)
class_names = train_ds.class_names
num_classes = 14

Train-test split
เนื่องจากข้อมูลที่มีจำนวนไม่มากจึงจำเป็นต้องมีการใช้อัตราส่วนของ test set ในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อให้โมเดลสามารถทำงานได้ดีกับข้อมูลที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จึงแบ่งสัดส่วน train:test เป็น 80:20

Image size
จากการ Explore ข้อมูลพบว่ารูปภาพส่วนใหญ่มีความกว้างอยู่ในช่วง 120–130 pixels ซึ่งในการนำรูปภาพมาใช้ในการ train model จำเป็นต้องทำให้รูปภาพทั้งหมดมีขนาดที่เท่ากัน ดังนั้นเราจึงทำการ resize ภาพทั้งหมดให้มีขนาด 128×128 pixels

Model architecture

ในการสร้างโมเดลพยากรณ์ เราได้นำ Convolution neural network มาใช้ในการสร้างโมเดล โดยเลือกใช้ ResNet50 architecture มาใช้ในการ Extract feature จากรูปภาพปกหนังสือ เนื่องจากขนาดที่ไม่ใหญ่มากและใช้งานง่ายเนื่องจากเป็น Function ที่อยู่ใน Keras อยู่แล้ว โดยกำหนดให้ input shape = (128,128,3) มาจากขนาดของรูปที่ 128×128 pixels โดยจะมี 3 layers ตาม RGB channel เนื่องจากเป็นภาพสี

resnet = tf.keras.applications.ResNet50(
include_top=False,
weights="imagenet",
input_shape=(128,128,3)
)

เราได้ทำการตัดส่วน top layer ของ ResNet50 architecture ออกและใส่ Layer ที่มี output layer เท่ากับ จำนวน class ที่มีเข้าไปแทน

x = tf.keras.Sequential([
model_res,
layers.Flatten(),
layers.Dense(128, activation='relu'),
layers.Dropout(0.3),
layers.Dense(256, activation='relu'),
layers.Dropout(0.4),
layers.Dense(256, activation='relu'),
layers.Dense(num_classes)
])

Metric

โปรเจคนี้จะใช้ Top_k_categorical_accuracy เป็น metric ในการวัดความแม่นยำในการทำนายของโมเดล

หลักการวัดความแม่นยำของ Top_k_categorical_accuracy คือ หากโมเดลทำนายความน่าจะเป็นของ class ที่ถูกต้องให้อยู่ใน k อันดับแรกได้จะให้ค่าเป็น 1 ถ้าไม่ได้จะให้ค่าเป็น 0 โดยเราจะกำหนดให้ค่า k = 3 ซึ่งหมายถึงถ้าความน่าจะเป็นของ class ที่ถูกต้องอยู่ใน Top 3 โมเดลจะได้คะแนนไป 1 แต้ม

Example

ภาพแสดงการทำนายที่ metric ให้ค่าเป็น 1
ภาพแสดงการทำนายที่ metric ให้ค่าเป็น 0

จากรูปตัวอย่างด้านบน รูปที่หนึ่งคือรูปจากหมวดหนังสือท่องเที่ยวซึ่งถึงแม้ว่า model จะไม่ได้ทำนายว่าหนังสือเล่มนี้มีความน่าจะเป็นหนังสือท่องเที่ยวมากที่สุด แต่ว่าหมวดหนังสือท่องเที่ยวก็อยู่ใน top 3 ดังนั้น metric จึงให้ 1 คะแนน
ในขณะที่รูปที่สองซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนแต่ความน่าจะเป็นของหมวดการ์ตูนไม่ได้อยู่ใน top 3 ดังนั้น metric จึงให้ 0 คะแนน

Fit model

หลังจากทำการกำหนด metric ที่ใช้ในการวัดความถูกต้องของการพยากรณ์แล้วต่อไปก็คือการ fit model กับ dataset ที่เราเตรียมไว้ โดยให้ epochs เป็น 30 เพื่อไม่ให้ใช้เวลานานจนเกินไป เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรและเวลา

x.fit(
train_ds,
validation_data=val_ds,
epochs= 30 ,
)
ภาพแสดงความแม่นยำของโมเดล

จากการ train model พบว่าความแม่นยำของข้อมูลอยู่ที่ 0.6618 จากการทดสอบด้วย function evaluate

Analyze

จากการนำข้อมูลที่เหลือมาทดสอบการจัดหมวดหมู่ของโมเดลพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้โมเดลมีความไม่แม่นยำมาจากการจัดหมวดหมู่ของเว็บไซต์ เนื่องจากมีบางหมวดหมู่นั้นไม่เป็นอิสระต่อกัน หมายความว่าถ้าอิงตามหลักความจริงจะมีหนังสือบางเล่มที่สามารถถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ได้มากกว่าหนึ่งหมวด

ภาพหนังสือหมวดหนังสือเด็กที่ถูกโมเดลทำนายให้อยู่ในหมวดเตรียมสอบ

ตัวอย่างในภาพด้านบนคือหนังสือหมวดหนังสือเด็กที่ถูกโมเดลทำนายให้อยู่ในหมวดเตรียมสอบ ซึ่งหากพิจารณาแล้วหนังสือเหล่านั้นสามารถถูกจัดให้อยู่ในหมวดเตรียมสอบได้ แปลว่าจริง ๆ แล้วโมเดลก็มีความสามารถในการแยกรูปแบบของหนังสือเตรียมสอบที่ดีระดับหนึ่ง แต่ผิดที่การแบ่งหมวดหมู่

ภาพหนังสือหมวดการ์ตูนที่ถูกโมเดลทำนายให้อยู่ในหมวดหนังสือเด็ก

ปัญหาของการแบ่งหมวดหมู่นี้คือ หมวดหนึ่งเป็นหมวดที่แบ่งจากช่วงวัยส่วนอีกหมวดหนึ่งเป็นหมวดที่แบ่งจากวัตถุประสงค์ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดส่วนที่ Intersect กันได้

Summary

การพัฒนาโมเดลนี้ให้มีความแม่นยำในการทำนายที่สูงขึ้นควรเริ่มจากการปรับปรุงการจัดหมวดหมู่ของหนังสือโดยกำหนดหมวดหมู่ (Class) ให้เป็นอิสระต่อกัน

ถ้ามีข้อผิดพลาดตรงไหนรบกวนช่วยแนะนำด้วยนะครับ

AI/ML

Trending AI/ML Article Identified & Digested via Granola by Ramsey Elbasheer; a Machine-Driven RSS Bot



via WordPress https://ramseyelbasheer.wordpress.com/2020/11/29/%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a0%e0%b8%97%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%88/

Popular posts from this blog

I’m Sorry! Evernote Has A New ‘Home’ Now

Jensen Huang: Racism is one flywheel we must stop

5 Best Machine Learning Books for ML Beginners